บันทึกอนุทิน
วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานของตนเองที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ โดยแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามลำดับ
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่
จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า
จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก
แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา
หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
มอนเตสซอรี่เชื่อว่า
การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง
และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้
เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้
และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ : การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor
Education) การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส
(Education of the Senses) และการตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for
Writing and Arithmetic)
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ
เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป
การเขียนก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ
จากการสัมผัสรูปทรงเลขาคณิตสัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย
ในการทำงาน
ครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตามลำดับยากง่าย
หรือตามที่นกเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่
1 เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ
…. " นี่คือ
แขนงไม้ "
|
ขั้นที่
2 รู้จักชื่อของสิ่งของ
… " หยิบแขนงไม้มาให้ครูซิ
"
|
ขั้นที่
3 จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์
… " นี่คือ
อะไร "
|
ขั้นตอนนี้
จะใช้เมื่อเด็กเรียนรู้ชื่อของอุปกรณ์ คุณภาพ หรือประสบการณ์
บทเรียนนั้นจะมีลักษณะสั้น ง่าย และเป็นปรนัย
ถ้าเด็กหยิบอุปกรณ์ไม่ถูกก็ต้องหยิบออกไปแล้วให้เด็กรอโอกาสทำต่อไป
|
กิจกรรมกลุ่มมอนเตสเซอรี่
กล่องลึกลับ ให้เด็กๆล้วงมือเข้าไปในกล่องลึกลับ
จากนั้นให้ทายสิ่งของที่เราจับในกล่อง แล้วค่อยจับออกมาจากกล่อง
แนวคิดพื้นฐาน
การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด
ความรู้สึก และเจตจำนงของคน ๆ นั้น หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ
ความรู้สึกสบายใจ
ความผ่อนคลาย
เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่
แนวคิดของสไตเนอร์ เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ
เพราะ สไตเนอร์ เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู
ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี
หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์
3 ประการ
ได้แก่
ความคิด
ความรู้สึก
และการกระทำ
โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก
ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ
เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน
ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก
วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน
สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ
รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู
ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น
ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
การสอนแบบโครงการ หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา
โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
ความคิดพื้นฐาน
เชื่อว่า
การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด
มีความมุ่งหมาย
ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง
การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
การสอนแบบโครงการจะมีกิจกรรม 5 วิธี
ในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 วิธี ประกอบด้วย
ในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 วิธี ประกอบด้วย
1.วิธีการอภิปราย
ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก
และให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มย่อย
และกลุ่มใหญ่
2.วิธีการศึกษานอกสถานที่
เป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำโครงการ ในระยะแรก ครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน
เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน
จะช่วยให้เด็กมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้
ในหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ
โดยถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของการศึกษาค้นคว้า
3.วิธีการนำเสนอประสบการณ์เดิม
เด็กได้ทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการแสดงความคิดเห็น
อภิปรายประสบการณ์ที่เหมือนหรือต่างกันกับเพื่อนๆ
ตลอดจนแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ
ซึ่งเด็กสามารถเสนอประสบการณ์เดิมให้เพื่อนได้รู้โดยการวาดภาพ การเขียน
การใช้สัญลักษณ์ การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
4.วิธีสืบค้น
การสอนแบบโครงการ เปิดโอกาสให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลาย
ตามหัวเรื่องที่สนใจ โดยเด็กสามารถสอบถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว
เพื่อน วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ในหัวเรื่อง หรือสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด
5.วิธีการจัดแสดง
สามารถทำในหลายรูปแบบ อาจจัดเป็นป้ายแสดงผลงานของเด็ก การแลกเปลี่ยนความคิด
ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการสืบค้น
กิจกรรมทั้ง 5 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น จะปรากฎอยู่ในโครงการในระยะต่างๆ
การสอนแบบโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
1.1 สร้าง/สังเกตความสนใจของเด็ก
1.2 ครูและเด็กกำหนดหัวเรื่องโครงการ
1.2 ครูและเด็กกำหนดหัวเรื่องโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ : ให้โอกาสเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
2.1 เด็กกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2.2 เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
2.3 ทดสอบสมมุติฐาน
2.4 เชิญวิทยากร
2.5 ตั้งสมมติฐานใหม่
2.6 เด็กทดสอบสมมุติฐานใหม่
2.7 เด็กสรุปข้อความรู้
2.2 เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
2.3 ทดสอบสมมุติฐาน
2.4 เชิญวิทยากร
2.5 ตั้งสมมติฐานใหม่
2.6 เด็กทดสอบสมมุติฐานใหม่
2.7 เด็กสรุปข้อความรู้
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ : ประเมิน สะท้อนกลับและแลกเปลี่ยนงานโครงการ
3.1 เด็กรวบรวมสรุป
3.2 เด็กสิ้นสุดความสนใจในหัวเรื่องโครงการ
3.3 เด็กนำเสนอผลงานโครงการ
3.2 เด็กสิ้นสุดความสนใจในหัวเรื่องโครงการ
3.3 เด็กนำเสนอผลงานโครงการ
สรุปได้ว่า
การสอนแบบโครงการ คือ การที่เด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากความสนใจของเด็กเอง
อย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการ
การลงมือปฏิบัติ การใช้กระบวนการคิด และแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ
ด้วยตัวเด็กเอง จนค้นพบคำตอบและได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายใต้การแนะนำช่วยเหลือ
ส่งเสริมและสนับสนุนของครู
พหุปัญญา
(Multiple Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์
ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า
สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง
เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ
และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง คือ การดมกลิ่น การรับรส การรับความรู้สึก
อุณหภูมิ รับสัมผัสผ่านผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกาย และความรู้ สึกภายใน
ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา
แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic
Intelligence) คือ
ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย
สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู
ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical – Mathmatical
Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล
การคิดเชิงนามธรรม การคิด
คาดการณ์
และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี
นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี
สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์
ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น
จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก
เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถ
ในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด
ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์
ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต
และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา
หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical
Intelligence) คือ
ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้
การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี
และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น
ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี
เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง
พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง
สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์
รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ
มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์
ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ
ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ
มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
หรือนักสำรวจธรรมชาติ
กิจกรรมของกลุ่มพหุปัญญา
แบบทดสอบตนเองว่าเด่นพหุปัญญาในด้านไหน
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)
วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)
หมายถึง องค์ความรู้
วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ
มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ STEM Education ได้นำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการจัดการเรียนรู้ ของแต่ละสาขาวิชา มาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขา วิชา ร่วมมือกัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความ รู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะสำคัญในโลกยุคโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ทั้งนี้ STEM Education เป็นการจัดการศึกษาที่มีแนวคิด ดังนี้
1. เป็นการบูรณาการข้ามสาระ วิชา (Interdisciplinary Integration) นั่นคือเป็นการบูรณาการ ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ (E) และ คณิตศาสตร์ (M) ทั้งนี้ได้นำจุด เด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามา ผสมผสานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ
• วิทยาศาสตร์ (S) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้อาจารย์ ครูผู้สอนใช้ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อ หน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM Education จะทำให้นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้น รู้สึก ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
• เทคโนโลยี (T) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยผ่านกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ ICT ตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ
• วิศวกรรมศาสตร์ (E) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้ แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็กอนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
• คณิตศาสตร์ (M) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต่เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ
ประการ แรก คือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ
การจำแนก/ จัดกลุ่ม การจัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติ ประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อมาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking) จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
2. เป็นการบูรณาการที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบ Project-based Learning, Problem-based Learning, Design-based Learning ทำให้ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาชิ้นงานได้ดี
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education นอกจากจะเป็นการบูรณาการ วิชาทั้ง 4 สาขาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการบูรณาการ ด้านบริบท (Context Integration) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การสอนนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้นๆ และสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทำงาน การเพิ่มมูลค่า และสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ ด้านเศรษฐกิจได้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ STEM Education ได้นำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการจัดการเรียนรู้ ของแต่ละสาขาวิชา มาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขา วิชา ร่วมมือกัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความ รู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะสำคัญในโลกยุคโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ทั้งนี้ STEM Education เป็นการจัดการศึกษาที่มีแนวคิด ดังนี้
1. เป็นการบูรณาการข้ามสาระ วิชา (Interdisciplinary Integration) นั่นคือเป็นการบูรณาการ ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ (E) และ คณิตศาสตร์ (M) ทั้งนี้ได้นำจุด เด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามา ผสมผสานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ
• วิทยาศาสตร์ (S) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้อาจารย์ ครูผู้สอนใช้ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อ หน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM Education จะทำให้นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้น รู้สึก ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
• เทคโนโลยี (T) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยผ่านกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ ICT ตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ
• วิศวกรรมศาสตร์ (E) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้ แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็กอนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
• คณิตศาสตร์ (M) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต่เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ
ประการ แรก คือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ
การจำแนก/ จัดกลุ่ม การจัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติ ประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อมาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking) จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
2. เป็นการบูรณาการที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบ Project-based Learning, Problem-based Learning, Design-based Learning ทำให้ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาชิ้นงานได้ดี
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education นอกจากจะเป็นการบูรณาการ วิชาทั้ง 4 สาขาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการบูรณาการ ด้านบริบท (Context Integration) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การสอนนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้นๆ และสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทำงาน การเพิ่มมูลค่า และสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ ด้านเศรษฐกิจได้
3. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่
ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคนให้มี
คุณภาพในศตวรรษที่ 21 เช่น
• ด้านปัญญา
ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชา
• ด้านทักษะการคิด
ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์
คิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
คิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
• ด้านคุณลักษณะ
ผู้เรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
การเป็นผู้นำตลอดจนการน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
กิจกรรมของกลุ่มSTEM
ดนตรีหรรษา
การเรียนรู้แบบ Brain-Based
Learning (BBL) เป็นการนำความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย
สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล เซลล์สมองจะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 3-6 เดือนแรก
จนถึง 1 เดือนก่อนคลอด
ช่วงนี้สมองบางส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกทำลายไปซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “พรุนนิ่ง
(Pruniny)” และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเด็กเล็กและช่วงวัยรุ่น ทั้งนี้หลักการพัฒนาเซลล์สมองขึ้นอยู่กับ 2 ส่วน คือ
1. ธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ ได้แก่ พันธุกรรม
2. สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อาหาร อารมณ์ การฝึกฝนใช้สมอง
แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING
1.จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ที่มีสี รูปทรง สถาปัตยกรรม
สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง(ไม่ใช่ครูออกแบบให้)
เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ
2.สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน เช่นที่ว่าง ๆ สำหรับกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้
โต๊ะหินอ่อนใต้ต้นไม้ ปรับที่ว่างเป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ จัดสถานที่ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม
3.จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์
4.ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรียนที่ไหนก็ได้ เช่น บริเวณเฉลียง
ทางเชื่อมระหว่างตึก สถานที่สาธารณะ
5.เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนเมือง
6.จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ช่อง รู
7.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ
เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น เวทีจัดนิทรรศการซึ่งควรเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบต่าง
ๆ
8.จัดให้มีวัสดุต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่าง ๆของร่างกาย มากมายหลากหลายและสามารถนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีความคิดใหม่
ๆ โดยมีลักษณะบูรณาการไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ
เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่หลากหลาย
9.กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสมองของแต่ละคนและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
10.จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
11.จัดให้มีที่ส่วนตัว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน จัดสถานที่ส่วนตัวของตนและสามารถแสดงความคิด สร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ
12.ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด
สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต นำเทคโนโลยี การเรียนทางไกล
ชุมชน ภาคธุรกิจ บ้าน ต้องนำเข้ามามีส่วนและเป็นทางเลือกในการเรียนรู้
สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงแรกของการเรียนรู้ทุกโรงเรียนสามารถทำแนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ
BRAIN-BASE LEARNING ไปปรับใช้เตรียมการได้ จะเห็นว่าแนวทางหลายอย่างปฐมวัยจัดอยู่แล้ว คือ 6 กิจกรรมหลักในกิจกรรมประจำวัน ส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว ซึ่ง ผู้บริหาร ครู ผู้สอนควรส่งเสริมและเน้นให้จริงจัง
เพราะเป็นนโยบายระดับชาติ
กิจกรรม
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้
โดยจะนำเอาการจัดการเรียนการสอนทั้ง 6 รูปแบบ
จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัย ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนของโรงเรียน
และข้าพเจ้าจะไปศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นประโยชน์ในการสอบบรรจุและในอนาคต
การประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย รู้สึกปวดหัว เนื่องจากไม่สบาย แต่ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน และจดบันทึกเพิ่มเติม ข้าพเจ้าตั้งใจนำเสนอของกลุ่มของข้าพเจ้าเอง และรู้สึกตื่นเต้นในการนำเสนอ เนื่องจากเห็นข้อบกพร่องของกลุ่มเพื่อนๆที่นำเสนอก่อนกลุ่มตนเอง
ประเมินตนเอง วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย รู้สึกปวดหัว เนื่องจากไม่สบาย แต่ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน และจดบันทึกเพิ่มเติม ข้าพเจ้าตั้งใจนำเสนอของกลุ่มของข้าพเจ้าเอง และรู้สึกตื่นเต้นในการนำเสนอ เนื่องจากเห็นข้อบกพร่องของกลุ่มเพื่อนๆที่นำเสนอก่อนกลุ่มตนเอง
ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อย เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอของกลุ่มอื่นๆ และตั้งใจในการนำเสนอของกลุ่มตัวเอง
แต่ละกลุ่มมีการเตรียมตัวนำเสนอมาเป็นอย่างดี
และมีบางกลุ่มที่อาจจะเตรียมการนำเสนอยังไม่ดีมากนัก
แต่ทุกกลุ่มก็นำเสนอออกมาได้ดี
และแต่ละกลุ่มยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้เพื่อนๆมาร่วมสนุกกันในห้องอีกด้วย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าห้องตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์ตั้งใจฟังนักศึกษาในการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม และให้คำแนะนำ
เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุง หลังจากที่ทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้ว
อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับความสำคัญของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น