วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ครั้งที่6
บันทึกอนุทิน
วันจันทร์  ที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   
            วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำโดยรวม ดังนี้ ครูต้องมีเทคนิคในการให้เด็กจับกลุ่มกัน เช่น ซื้อไก่ที่ตลาดมา 2 ตัว นับรวมกันได้กี่ขา ให้เด็กจับกลุ่มตามจำนวนของขาไก่ แทนการนับเลขธรรมดา  ก่อนครูจะให้เด็กจับกลุ่มกัน ครูควรให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ชนกัน
                หลังจากนั้น อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ยานพาหนะ (เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย)
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- เคลื่อนไหวตามคำบรรยายต้องมีภาคผนวกด้วย
- ครูต้องให้เด็กเคลื่อนไหวปกติเป็นอันดับแรก เป็นจังหวะปกติ เป็นการเดินธรรมดา เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวะเร็ว-ช้า  
- ถ้าสอนเด็กอนุบาล1 ให้บอกรายละเอียดในการเคาะจังหวะด้วย แต่ถ้าเด็กอนุบาล2 ไม่ต้องบอกรายละเอียดก็ได้  
- การสอนเคลื่อนไหวไม่ควรสอนเกิน 20 นาที



หน่วยผัก (เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย)
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
-  เวลาสอนเคลื่อนไหวให้คิดถึงความเป็นจริงว่าผักเคลื่อนที่ไม่ได้ ครูต้องหาวิธีที่จะทำให้ผักเคลื่อนที่ได้ เช่น ให้เด็กเป็นคนขายผักนำผักติดตัวไปด้วย เด็กมีวิธีการถือผักยังไง โดยที่ไม่ใช่มือถือ ให้หาวิธีการที่แตกต่างกัน เป็นต้น
- ครูต้องสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนมา




หน่วยผีเสื้อ (เคลื่อนไหวแบบความจำ) ข้าพเจ้าสอน
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- ควรเขียนแผนให้สอดคล้องของแต่ละหัวข้อเรื่อง เช่น ชนิดของผีเสื้อควรเขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบความจำถึงจะเหมาะสมที่สุด
- ควรฝึกและรู้จักการเคาะที่หลากหลาย ให้เด็กทำตามข้อตกลงที่ครูบอก



หน่วยเห็ด (เคลื่อนไหวประกอบเพลง)
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
-  ควรฝึกและรู้จักการเคาะที่หลากหลาย
- ถ้าครูจะให้เด็กเต้นตามจินตนาการ ครูไม่ต้องทำท่าทางให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง



สิ่งที่จะนำไปใช้
                ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น และนำไปปรับใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้ในอนาคตเมื่อได้ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในชั้นปีที่5



การประเมิน   

ประเมินตนเอง วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้ข้าพเจ้าสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งข้าพเจ้าเขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบคำบรรยายซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับหัวข้อชนิดของผีเสื้อ กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบความจำน่าจะเหมาะสมกว่า  ซึ่งอาจารย์ก็ให้คำแนะนำและสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบความจำ และให้ข้าพเจ้าสอนตามที่อาจารย์สาธิต ซึ่งเป็นการสอนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจ เนื่องจากไม่ได้เตรียมการสสอนมาก่อน แต่ก็พยายามสอนให้ดีที่สุด และวันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และจดบันทึกในส่วนที่อาจารย์ให้คำแนะนำ เพื่อจะนำไปปรับปรุงและแก้ไขแผนของกลุ่มตนเองให้ดีขึ้น และแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด

 ประเมินเพื่อน  เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา บางคนก็มาสาย แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะของเพื่อน และตั้งใจดูการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของเพื่อน แต่ก็มีเพื่อนบางคนก็ไม่ค่อยตั้งใจดูและตั้งใจฟังอาจารย์

 ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนช้าเล็กน้อย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ตั้งใจดูการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของนักศึกษา และอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นอย่างดี อาจารย์ได้สาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ







วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ครั้งที่5
บันทึกอนุทิน
วันจันทร์  ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้    
                อาจารย์ดู Mind Map ของแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำให้แต่ละกลุ่ม ดังนี้


หน่วยผีเสื้อ (กลุ่มข้าพเจ้า)   
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- ลักษณะของผีเสื้อ แบ่งออกเป็น ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และผีเสื้อต้องการน้ำ อาหาร ผีเสื้อต้องการเจริญเติบโต
- ถ้าสอนหน่วยที่เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการน้ำ อาหาร ยารักษาโรค ควรแยกวงจรชีวิตผีเสื้อออกมา หัวข้อหลักจะเป็นการเจริญเติบโตของผีเสื้อ แยกออกเป็น 2 หัวข้อ คือ การดำรงชีวิตของผีเสื้อ และ วงจรชีวิตของผีเสื้อ

หน่วยผัก   
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- การเจริญเติบโตของผักขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หัว กิ่ง
-การเขียนประโยชน์ของผัก จะแยกเป็น 2 หัวข้อ คือ ประโยชน์ของตัวผักเอง และ ประโยชน์ที่มีต่อโลกของเรา
-ประโยชน์และโทษ มีเพื่อให้เด็กเห็นว่า ทุกอย่างบนโลกมีทั้งคุณและโทษ

หน่วยกล้วย  
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- ถ้าหัวข้อไหนไม่สามารถแยกประเภทได้ ก็ไม่ต้องแยก
- ส่วนประกอบของกล้วย มีดังนี้ เปลือกกล้วย เนื้อกล้วย เม็ด
- หัวข้อจะใช้เป็นการเลือกซื้อหรือการถนอมกล้วยก็ได้

หน่วยเห็ด  
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- ให้แยกประเภทเห็ดออกเป็น 2 ประเภทคือ เห็ดที่กินได้ กับ เห็ดที่กินไม่ได้
- ในหน่วยเห็ดนั้น ต้องเน้นในเรื่องการขยายพันธุ์เห็ด เพราะเป็นจุดเด่นของเห็ด 
-ข้อควรระวังของเห็ด ถ้ากินเห็ดที่กินไม่ได้จะเกิดอาการ คลื่นไส้ ตัวเหลือง หมดแรง ต้องพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ถ้ากินเห็ดพาเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อชีวิต
-ครูต้องสอนเด็กว่าถ้าเจอเห็ดพิษต้องห้ามกิน

หน่วยยานพาหนะ  
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- ยานพาหนะทางน้ำ มีมากกว่าเรือ เช่น แพ เรือดำน้ำ เรือยอร์ช เป็นต้น 
- วิธีการดูแลยานพาหนะต้องดูว่าต้องดูแลรักษาอย่างไร เช่น ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง เป็นต้น

หน่วยส้ม  
                คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
- เขียน Mind map เรียงลำดับผิด ต้องเขียนชนิดของส้มเป็นอันดับแรก ต้องเขียนวนทางขวา
- เพิ่มหัวข้อการเลือกซื้อส้มหรือการถนอมส้ม เลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
- การแปรรูปส้ม และการประกอบอาหารเป็นหัวข้อย่อยจากหัวข้อหลักคือประโยชน์ของส้ม



การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ เช่น
ผีเสื้อ เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ เป็นธรรมชาติรอบตัวเด็ก ผีเสื้อมีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ผีเสื้อช่วยผสมเกสรดอกไม้เพื่อ ช่วยในการขยายพันธุ์ของพืช ผีเสื้อช่วยทำให้โลกสวยงาม สามารถสร้างรายได้และเกิดอาชีพได้ ขนของผีเสื้อทำให้เกิดอาการแพ้

ประสบการณ์สำคัญ

            คือ สิ่งที่เด็กทำจะเกิดการเรียนรู้  การลงมือกระทำของเด็ก คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะต้องอยู่รอดในสังคม)
ประสบการณ์สำคัญมีทั้งหมด 4 ด้านคือ
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา

กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
            เอาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ว่าเด็กแต่ละช่วงอายุ ทำอะไรได้บ้าง

บูรณาการทักษะรายวิชา
                1.คณิตศาสตร์
    - จำนวน การรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม
    - การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
                    - เราขาคณิต ตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง
                    - พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
                    - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
                    - ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล
                2.วิทยาศาสตร์
                        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต (Observation) การวัด (Measurement)  การจำแนกประเภท (Classification) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา (Space/space relationships and space/time relationships) การคำนวณ (Using numbers) การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication) การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) การพยากรณ์ (Prediction) การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypertheses) การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) การทดลอง (Experimenting) การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting data conclusion) และพลังงานจนล์และพลังงานกล
                3.พลศึกษา/สุขศึกษา
                    การล้างมือ และการรักษาสุขอนามัยต่างๆ
                4.ศิลปะสร้างสรรค์
                    ประดิษฐ์จรวดแล้วให้เด็กโยนหรือเป่าแข่งกัน แล้วใช้ฝ่ามือวัดว่าใครได้ฝ่ามือเยอะกว่ากันคนนั้นชนะ
                5.สังคมศึกษา
                    เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่อยู่ร่วมกันในสังคม
                6.ภาษา
               การเขียนภาพ การร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ธนาคารคำ การแสดงความเห็นโต้ตอบกับเพื่อนและครู
แผนการจัดประสบการณ์
                วัตถุประสงค์ต้องมี 4 ด้าน เน้นด้านที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่เราจัด
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-          วัตถุประสงค์ เอาด้านร่างกายขึ้นก่อนเสมอ
-          ประสบการณ์สำคัญ แยกเป็นด้าน
-          กิจกรรมพื้นฐาน เช่น เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า สคริปต์ ครูอาจจะให้เด็กเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า ด้านข้างของเท้า ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน ได้ทำท่าทางที่หลากหลาย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                ห้ามใช้ป้ายนิเทศเป็นสื่อการสอน  ขั้นนำครูควรใช้เพลงหรือคำคล้อง

กิจกรรมสร้างสรรค์
ควรมีการปั้นดินน้ำมัน และวาดรูปทุกวัน

เกมการศึกษา
                เช่น เกมจับคู่ภาพเหมือน เกมจับคู่ภาพเงา เป็นต้น


สิ่งที่จะนำไปใช้    
                ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเอง และนำไปปรับใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้ในอนาคตเมื่อได้ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในชั้นปีที่5


การประเมิน   

ประเมินตนเอง วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และจดบันทึกในส่วนที่อาจารย์ให้คำแนะนำ เพื่อจะนำไปปรับปรุงและแก้ไขแผนของกลุ่มตนเองให้ดีขึ้น และแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด

 ประเมินเพื่อน  เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา บางคนก็มาสาย แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มและจดบันทึกเพิ่มเติมในส่วนที่อาจารย์ให้คำแนะนำ เพื่อนบางคนก็ไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์สักเท่าไหร่

 ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์คำแนะนำในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของแต่กลุ่มได้อย่างละเอียด และแนะนำในการเขียนแผนแต่ละกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำไปปรับปรุงและแก้ไขของกลุ่มตนเอง