วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่18
บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่  4   พฤษภาคม พ.ศ.2559
ครั้งที่ 18  เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.



                  วันนี้เป็นการสอบปลายภาคในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นในการสอบมาก เพราะอาจารย์ไม่ได้บอกแนวข้อสอบอะไรเลย และเป็นการสอบที่ให้เวลาสอบ เพียง 1 ชั่วโมง และมีบ้อสอบทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบอัตนัย คะแนน 70 คะแนน ข้าพเจ้ารู้สึกเสียดายมากที่ทำข้อสอบไม่ทัน และทำผิด อีก 1 ข้อ ซึ่งข้าพเจ้าอ่านข้อสอบไม่ค่อยเข้าใจ   และเลือกทำข้อที่คะแนนน้อยกว่า แต่ก็ไม่เป็นไรถือว่า ข้าพเจ้าทำดีที่สุดแล้ว ผลจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องยอมรับในตัวเราเอง วันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนการจัดประสบการณ์ทั้้ง 30 แผน และสมุดคัดลายมือ 


สู้ๆ ก่อนสอบ 




บรรยากาศภายในห้อง





                                             

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่17
บันทึกอนุทิน
วัน จันทร์ ที่  25 เมษายน พ.ศ.2559
ครั้งที่ 17  เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   
             วันนี้เป็นคาบสุดท้ายของการเรียนการสอน วิชานี้ อาจารย์ให้นักศึกษาข้อสงสัย หรือปัญหาเกี่ยวกับในชั้นเรียน และอาจารย์ก็พร้อมหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา  และแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน     ปัญหาที่เพื่อนๆส่วนใหญ่พบเจอในชั้นเรื่องจะเกี่ยวกับ การสงบเด็ก เจอเด็กพิเศษไม่รู้จะทำยังไง เด็กไม่ยอมนอนกลางวัน เป็นต้น                         



     อาจารย์ได้กำหนดส่งงานต่างๆ เช่น บล็อก ส่งแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 30 แผน และสมุดคัดลายมือ ก-ฮ และนัดสอบในรายวิชานี้ ในวันที่ 4 พ.ค. 2559

        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่สอบสอน มาสอบสอน 
หน่วยเห็ด    
                คำแนะนำของอาจารย์ คือ       
               กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ----(วันศุกร์) "cooking เห็ดชุบแป้งทอด"
               - ครูควรบอกขั้นตอนวิธีการทำ ทีละขั้นตอน
               - ครูไม่ควรบอกยี่ห้อของวัสดุอุปกรณ์ เช่น แป้งโกกิ ควรเรียกว่า แป้งทอดกรอบ  เป็นต้น 
               -  ในการใส่น้ำมัน ครูไม่ควรเรียกว่า เป็นลิตร เพราะ เด็กยังไม่เข้าใจ อาจจะเรียกเป็นถ้วยตวง หรือ ครึ่งขวด เป็นต้น
              - รสดี ไม่ใช่เป็นเครื่องปรุงรส สำหรับเด็ก เครื่องปรุงรสสำหรับเด็ก คือ เกลือ น้ำตาล เป็นต้น
             -การเรียกลักษณนามของเห็ด ควรเรียกว่า เป็นมัด ไม่ควรเรียกว่าเป็น ห่อ 
             -  ในวิธีการสอน สอนได้ทั้ง 2 แบบ คือ ทำไปพร้อมกับครู และ แบ่งทำเป็นกลุ่ม แล้วเวียนทำกิจกรรมจนครบทุกกลุ่ม ถ้าแบ่งกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
                   กลุ่มที่1 วาดภาพ/เขียน วัสดุอุปกรณ์ ในการทำเห็ดชุปแป้งทอด
                   กลุ่ม 2 ล้างเห็ด
                   กลุ่ม 3ผสมแป้ง+เห็ดชุบแป้ง
                   กลุ่ม 4 ทอดเห็ด
กระบวนทางวิทยาศาสตร์ในการทำเห็ดชุบแป้งทอด 
     ประเด็นปัญหา                           ทำยังไงให้เห็ดกินได้
     ตั้งสมมติฐาน                             ถ้าเรานำเห็ดใส่ลงในน้ำมันร้อนๆจะเป็นยังไง
     การทดลอง                               โดยใช้เครื่องมือ คือการสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล        



หน่วยส้ม 
           คำแนะนำของอาจารย์ คือ  
          กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (เคลื่อนไหวแบบความจำ) 
          - ควรเคาะจังหวะให้ชัดเจนมากกว่านี้ 
         - แก้ไขแผน การเคลื่อนไหวแบบความจำ ไม่ใช่การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
         - ควรบอกมุมให้ชัดเจน




สิ่งที่จะนำไปใช้     
           สามารถนำแนวทางวิธีแก้ไขปัญหาที่อาจารย์ได้บอก นำไปใช้เมื่อเราได้ฝึกปสบการณืวิชาชีพ ในชั้นปี 5 และในอนาคตได้ และสามรถนำแผนการจัดประสบการณ์ เกี่ยวกับ cooking  ไปสอนเด็กในการประกอบอาหาร ก่อนสอนเด็ก เราจะต้องทดลองทำก่อน 1 ครั้ง 


การประเมิน   
ประเมินตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา และแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังปัญหาของเพื่อนที่พบเจอ และตั้งใจฟังอาจารย์ที่ให้แนวทางแก้ไขปัญหา ตั้งใจดูเพื่อนในการสอนเสริมประสบการณ์ และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อนที่สอน วันนี้สนุกมากๆ ที่เพื่อนสอน เพราะได้ทานเห็ดชุบแป้งทอด ถึงแม้เพื่อนจะไม่ได้สอนในห้องก็ตาม

ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนส่วนมากเข้าเรียนสาย แต่งกายเรียบร้อย เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อน และฟังอาจารย์ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหา วันนี้เพื่อนขอกลับเร็ว เนื่องจากเพื่อนมีธุระ ในการย้ายหอ หาหอใหม่ เพื่อที่จะไปพักใกล้โรงเรียนของตนเองที่จะไปฝึกสอน อาจารย์ก็ให้ไปก่อนได้ และมีเพื่อนบางส่วนที่ ดูการสอนของเพื่อนกลุ่มเห็ด และกลุ่มส้ม 

ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหา และให้คำแนะนำให้กับเพื่อนที่สอนเสริมประสบการณ์ และเทคนิคต่างๆในการสอน วันนี้อาจารย์เป็นกันเองในการสอนมาก 




        

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่16
บันทึกอนุทิน
วัน จันทร์ ที่  18 เมษายน พ.ศ.2559
ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้                                                  
วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันศุกร์) และวันนี้มีการทำ Cooking อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับกลุ่มที่ออกมาสอนเป็นอย่างละเอียด

หน่วยยานพาหนะ
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ  
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ---(วันศุกร์)ข้อควรระวังของ ยานพาหนะ
 - ครูใช้นิทานไม่สอดคล้องกับเนื้อหาข้อควรระวังของยานพาหนะ
- ข้อควรระวัง เช่น นั่งบนเรือ จะต้องนั่งให้เรียบร้อยและต้องใส่เสื้อชูชีพ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาเวลาขับขี่รถ เวลาขับรถไม่เกินความเร็วที่กำหนด
-  สื่อที่นำมาประกอบนิทาน ควรทำให้มีมิติ ควรทำมันนูนขึ้น
- ควรสอนเด็กๆว่า ถ้าเราจะขับรถ จะต้องมีใบขับขี่ ต้องรู้กฎจราจร ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
                - ควรสอนเด็กๆ รู้จักสัญญาณไฟจราจร  ไฟแดง  ไฟเหลือง ไฟเขียว คืออะไร



หน่วยส้ม
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ  
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ---(วันศุกร์) “Cooking น้ำส้มคั้น
- แผ่นชาร์ทแก้ไข ส้มเขียวหวานและเกลือ เป็นส่วนผสม ไม่ใช่อุปกรณ์
- อุปกรณ์ในการทำน้ำส้มคั่น คือ มีด แก้ว ที่คั้นน้ำส้ม
- ครูควรใช้คำถามให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนผสมและอุปกรณ์ที่ครูเตรียมมานี้ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง
- ครูควรบอกอัตราส่วนในการผสมด้วย เพื่อเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์ เช่น เกลือ ½ ช้อนชา
- ขั้นตอนในการทำ ไม่ควรเขียนเป็นความเรียง เพราะเด็กยังอ่านไม่ออก
- แผ่นชาร์ดวิธีการทำความมีรูปประกอบด้วย เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
-หลังจากที่สอนเสร็จ ครูต้องถามเด็กว่า ถ้าเราจะทำน้ำส้มคั้น เราควรทำอย่างไรบ้างค่ะ
-ให้เด็กออกมาเล่าให้ฟังว่า วิธีการทำน้ำส้มว่าเป็นอย่างไร



หน่วยกล้วย
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ  
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ---(วันศุกร์) “Cooking กล้วยเชื่อม
- แผ่นชาร์ทต้องเขียนสัดส่วนที่จะใส่ผสมลงไปให้ชัดเจน
 - อุปกรณ์ที่ใช้ไม่ต้องเขียนปลั๊กไฟกับไม้จิ้มลงในแผ่นชาร์ท ไม้จิ้มเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่เราจะใช้ตักกิน
 - ในการเขียนแผ่นชาร์ทให้เขียนส่วนผสมลงมาเรื่อยๆ ไม่ควรเขียนเป็นแถวสองฝั่ง
 - ก่อนการทำ Cooking ครูจะต้องเตรียมตัวโดยการฝึกลองทำมาก่อน แล้วค่อยสอนให้เด็กทำจริง
- ขั้นตอนในการทำ ครูอาจแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม
กลุ่มที่1 วาดภาพอุปกรณ์ ส่วนผสม และเขียนสัดส่วน
กลุ่มที่2หั่นกล้วย
 กลุ่มที่3 ดูวิธีการทำจากครู
 - ครูจะต้องพูดถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องกำหนดประเด็นปัญหาก่อน เช่น "จะทำอย่างไรถึงจะทำให้กล้วยสุก" "ทำอย่างไรถึงจะทำให้กล้วยเป็นของหวานได้"
- ครูต้องตั้งประเด็นปัญหาให้เด็กรู้จักคิด ต่อมาตั้งสมมติฐาน เช่น "ถ้านำกล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อมจะเกิดอะไรขึ้น" ต่อมาครูให้เด็กลงมาปฏิบัติ โดยการเอากล้วยใส่ลงไปในกระทะแล้วให้เด็กสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างที่ทำครูและเด็กต้องเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐาน แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วยว่า "ถ้ากล้วยสุก กล้วยจะมีสีอย่างไร"
- ครูควรให้เด็กแต่ละกลุ่มหมุนเวียนหน้าที่กัน เพื่อที่เด็กทุกคนจะได้ทำทุกอย่าง
- ก่อนการท cooking ครูต้องแนะนำอุปกรณ์และข้อควรระวังให้เด็กรู้จักก่อน
 - สาระการเรียนรู้คือ กล้วยนำไปประกอบอาหารเป็นของหวานได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
-  ขั้นนำ ครูแนะนำขั้นตอนและส่วนผสมและแนะนำส่วนผสมว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง
- ขั้นสอน ให้เด็กนั่งหั่นกล้วย แล้วเชื่อมกล้วย
-ขั้นสรุป ครูพูดสรุปและทบทวนวิธีการเชื่อมกล้วย



กลุ่มผีเสื้อ (กลุ่มของข้าพเจ้า)
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ  
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ---(วันศุกร์) “Cooking ขนมปังปิ้ง
- แผ่นชาร์ทเขียนติดกันจนเกินไป ขั้นตอนการทำไม่ควรเขียนเป็นช่องๆ
-ขั้นนำ ครูแนะนำวัสดุ อุปกรณ์ และใช้คำถามถามเด็กว่า "อุปกรณ์ที่นำมาสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง"
-ขั้นสอนครูสาธิตขั้นตอนการทำ แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม
       1. วาดรูปส่วนผสมและอุปกรณ์
       2.นำขนมปังเข้าเครื่องปิ้ง
       3.ทาเนย
       4.วาดรูปผีเสื้อลงบนขนมปัง แล้วให้เด็กเปลี่ยนกันจนครบทุกกลุ่ม
 - การกำหนดปัญหา เช่น จะทำอย่างไรให้ขนมปังสุกหรือทำอย่างไรให้ขนมปังร้อน 
- ตั้งสมมติฐาน ครูควรถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าขนมปังจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันร้อน 
- ต่อมาก็พาเด็กมาทดลอง ครูต้องให้เด็กสังเกตว่าถ้าขนมปังสุกจะมีสีอย่างไรหรือถ้าขนมปังสุกจะมีกลิ่นอย่างไร แล้วให้เด็กรวบรวมข้อมูล 



สิ่งที่จะนำไปใช้   
                ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น และนำไปปรับใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้ในอนาคตเมื่อได้ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในชั้นปีที่5 และในอนาคตเมื่อเราได้เป็นครู


การประเมิน  

ประเมินตนเอง  วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำแก่เพื่อนที่สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จดบันทึกคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อจะนำไปปรับปรุงและแก้ไขแผนของตนเองให้ดีขึ้น วันนี้มีกิจกรรม ทำ cooking รู้สึกสนุกมากๆที่ได้ทำ และได้ทานของอร่อยๆที่เพื่อนทำอีกด้วย

ประเมินเพื่อน เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้เพื่อนทุกกลุ่มเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของเพื่อน และตั้งใจดูการสอนของเพื่อนเป็นพิเศษ เพราะว่า วันนี้มีกิจกรรมทำ cooking กันเพื่อนต่างสนใจ และสนุกกับการชิมอาหารที่เพื่อนทำ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ตั้งใจดูการสอนกิจกรรมแสริมประสบการณ์ของนักศึกษา และอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และวิธีการสอนทำ cooking เป็นอย่างดี