ครั้งที่11
บันทึกอนุทิน
วันจันทร์ ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 14.30น. - 17.30น.
วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(วันอังคาร) และสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์(วันจันทร์)
พร้อมให้คำแนะนำกับกลุ่มที่ออกมาสอน
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
-การเขียนแผนจัดประสบการณ์ต้องเขียนด้วยปากกา
ไม่ควรเขียนด้วยดินสอ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เคลื่อนไหวแบบความจำ)
-
เพื่อนมีความตื่นเต้นในการสอน ทำให้พูดถูกบ้างพูดผิดบ้าง
-
การเคาะจังหวะให้ไปฝึกการเคาะให้ดีกว่านี้
-การบอกคำสั่งต้องชัดเจน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ให้ดูการสอนจากกลุ่มเพื่อนก่อน
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เคลื่อนไหวประกอบเพลง)
- เคลื่อนไหวไม่ต้องใช้ชาร์ทเพลง
-
เพลงที่ใช้ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว ครูควรร้องเพลงพร้อมกับเด็กก่อน จับกลุ่มเปลี่ยนกันร้องเพลง
แล้วเปลี่ยนกันเต้น เปลี่ยนกันเคาะจังหวะ
- ในส่วนกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ควรทำท่าทางสบายๆ ไม่ทำท่ายาก
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะควรให้เด็กทำทุกวัน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- ตอนที่ครูจดบันทึกสิ่งที่เด็กบอกชื่อผีเสื้อในคำคล้องจอง
และจดบันทึกตอนที่ถามเด็กว่านอกจากในคำคล้องจองแล้ว เด็กรู้จักผีเสื้ออะไรบ้าง
ควรใช้สีปากกาที่ต่างกัน ชนิดของผีเสื้อนำมาเยอะเกินไป นำมา3-4 ชนิด
-
การแยกชนิดของผีเสื้อต้องปักจากซ้ายไปขวาของเด็ก
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม)
-
เคลื่อนไหวไม่ต้องใช้ชาร์ทเพลง
- หลังจากที่ครูทวนเพลงแล้ว
ครูควรให้เด็กคิดท่าทางเอง ครูไม่ต้องคิดให้กับเด็ก ครูเรียกเด็ก1 คน
เพื่อมาทำท่าทางนำเพื่อน แต่ละคนที่ออกมาเป็นผู้นำต้องทำท่าทางใหม่
แตกต่างจากคนที่แล้วที่ออกมานำ เปลี่ยนกันออกมาประมาณ 4-5 คน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- การเขียนประเภทของผัก
ควรทำเป็นตาราง แบ่งออกเป็น กินใบ กินดอก กินผล
- ถ้าทำเป็นตารางก็ทำได้แต่อาจจะไม่ค่อยชัดเจน
ควรใช้ของจริงจะดีมาก
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย)
- การเคาะยังไม่ค่อยชัดเจน
ครูต้องเคาะจังหวะให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปที่หาดทราย
ขณะที่พูดครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที
- การเดินด้วยปลายเท้า
อาจจะมีการเปลี่ยนทิศทาง
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- ใช้เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ
- ควรใช้การเปรียบเทียบ
3 ชนิด กับเด็กอนุบาล 2 ตอนปลาย หรืออนุบาล 3 ตอนปลาย
- ในการเปรียบเทียบ
3 สิ่ง จะต้องใช้คำว่า มากที่สุดและน้อยที่สุด
ถ้าใช้คำว่ามากกว่าและน้อยกว่า จะใช้เปรียบเทียบแค่ 2 สิ่ง
คำแนะนำจากอาจารย์
คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(ตามคำบรรยาย)
- ครูควรเคาะจังหวะหยุดทันที
เมื่อต้องการให้เด็กหยุดเคลื่อนไหว ไม่ควรเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- แผ่นชาร์ทเพลง
ภาพกล้วยไม่ควรใช้ที่สะท้อนแสง
- การนับจำนวนของกล้วยไม่ควรเอารูปกล้วยเป็นหวี
เพราะไม่สามรถนับจำนวนได้ ควรนำมาเป็นลูก
คำแนะนำจากอาจารย์ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ(ประกอบเพลง+ผู้นำผู้ตาม)
-
ควรมีการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวในกิจกรรมพื้นฐาน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-
ครูควรหาแผงไข่มาไม่ให้รูปเห็ดวางซ้อนกัน
-
รูปเห็ดควรเรียงกัน
-
แผ่นชาร์ทควรหาแผ่นรองให้เหมาะสมกับกระดาษ
-
เวลาแยกประเภทเห็ดต้องปักรูปเห็ดจากซ้ายไปขวามือของเด็ก
-
ถ้าจัดหมวดหมู่แล้วไม่ต้องนับอีก
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
และนำไปปรับใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
และสามารถนำไปใช้ในอนาคตเมื่อได้ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในชั้นปีที่5
และในอนาคตเมื่อเราได้เป็นครู
ประเมินตนเอง วันนี้ข้าพเจ้าเข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
และตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำแก่เพื่อนที่สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
จดบันทึกคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อจะนำไปปรับปรุงและแก้ไขแผนของกลุ่มตนเองให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา บางคนก็เข้าเรียนสาย แต่งกายเรียบร้อย วันนี้เพื่อนทุกกลุ่มเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี
เพื่อนบางกลุ่มอาจจะเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีแต่อาจจะรู้สึกตื่นเต้นอาจจะพูดผิดพูดถูกบ้าง
เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของเพื่อน
และตั้งใจดูการสอนของเพื่อน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์ตั้งใจดูการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของนักศึกษา
และอาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นอย่างดี
วันนี้อาจารย์ปล่อยช้า 1 ชั่วโมง ทำให้นักศึกษาเหนื่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น